My latest images for sale at Shutterstock:

My most popular images for sale at Shutterstock:

วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

โครงการพัฒนาเกษตรชลประทานพิษณุโลก

เนื่องจากผลผลิตข้าว และการเพิ่มของพลเมือง ไทยมีอัตราส่วนใกล้เคียงกันมาก จึงจำเป็นต้องเร่งปรับปรุงพื้นที่เพาะปลูกที่มีอยู่แล้ว ให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งแหล่งผลิตข้าวส่วนใหญ่ได้มาจากทุ่งราบเจ้าพระยา ดังนั้น กรมชลประทานจึงได้วางแผนพัฒนาแควทั้ง 4 ของแม่น้ำเจ้าพระยา คือ ปิง วัง ยม และน่าน
กรมชลประทานได้ดำเนินการจัดทำโครงการพัฒนาลุ่มน้ำน่าน โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 โครงการเขื่อนสิริกิติ์
ระยะที่ 2 โครงการชลประทานพิษณุโลก
ระยะที่ 3 โครงการชลประทานอุตรดิตถ์
” โครงการพัฒนาเกษตรชลประทานพิษณุโลก” ใช้แหล่งน้ำต้นทุนจากเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ กรมชลประทานก่อสร้าง โครงการพัฒนาเกษตรชลประทานพิษณุโลก ระหว่างปี พ.ศ. 2513-2528 ประกอบด้วย การก่อสร้างเขื่อนทดน้ำ และ ระบบชลประทาน ดังนี้
เขื่�นนเรศวร
เขื่อนนเรศวร
- ก่อสร้าง ” เขื่อนนเรศวร ” ซึ่งเป็นเขื่อนทดน้ำกั้นแม่น้ำน่าน สามารถระบายน้ำผ่านเขื่อนสูงสุด 1,550 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ตั้งอยู่ที่อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก อยู่ห่างจากท้ายเขื่อนสิริกิติ์เป็นระยะทางตามแนวแม่น้ำน่าน ประมาณ 176 กิโลเมตร ทำหน้าทดน้ำในแม่น้ำน่านให้มีระดับสูงขึ้น เพื่อให้น้ำจากแม่น้ำไหลเข้าสู่คลองส่งน้ำสายใหญ่ ส่งไปตามระบบชลประทาน
- ก่อสร้าง ” ระบบชลประทาน ” บนพื้นที่ฝั่งซ้ายและฝั่งขวาของแม่น้ำน่าน ซึ่งมีการก่อสร้างคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวาของแม่น้ำน่าน มีประตูระบายน้ำปากคลองส่งน้ำสายใหญ่ โดยมีเขื่อนนเรศวรทำหน้าที่ทดน้ำเข้าประตูระบายน้ำปากคลอง ซึ่งคลองส่งน้ำสายใหญ่มีความยาว 175 กิโลเมตร ตั้งแต่จุดที่ตั้งเขื่อนนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก ลงมาถึง อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์
ระบบชลประทานคลอบคลุมพื้นที่เกษตรกรรม จำนวน 667,100 ไร่ ประกอบด้วย 4 โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา คือ โครงการฯ เขื่อนนเรศวร, พลายชุมพล, ดงเศรษฐี และ โครงการฯ ท่าบัว